เทศกาล ไหว้ บะ จ่าง 10 มิถุนายน 2567

เทศกาล ไหว้ บะ จ่าง  10 มิถุนายน  2567

เทศกาลไหว้บ๊ะจ่าง หรืออีกชื่อหนึ่งว่า เทศกาล ตฺวานอู่ ตรงกับวันที่ 5 เดือน 5 ตามปฏิทินจันทรคติ เป็นการระลึกถึงวันที่คุดก้วน หรือ ชวีหยวน กวีผู้รักชาติแห่งรัฐฉู่ เทศกาลไหว้บ๊ะจ่าง ตรงกับวันที่ 10 มิถุนายน ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 5 ปีมะโรง (อ้างอิงจาก ปฏิทินจีน)

ประเพณีสำคัญในเทศกาลไหว้บ๊ะจ่าง

การทำบ๊ะจ่าง  ข้าวเหนียวห่อใบไผ่ สอดไส้ด้วยหมูเห็ดหอม ถั่วลิสง ไข่แดง เกลือ และเครื่องเทศ
การแข่งเรือมังกร เป็นการจำลองการแข่งเรือเพื่อช่วย ชีหยวน
การแขวนถุงหอม  เชื่อกันว่าช่วยป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ
การตั้งไข่ เชื่อกันว่าวันนี้เป็นวันที่ไข่จะยืนได้เอง

 

ความสำคัญของเทศกาลไหว้บ๊ะจ่าง
เป็นการสืบสานประเพณีอันดีงามของชาวจีน
เป็นการรวมตัวพบปะสังสรรค์ของครอบครัว



 

ซีหยวน เทพเจ้าบะจ่าง 
ซีหยวน ขุนนางจีนผู้ซื่อสัตย์ เก่งการปกครอง มีเชื้อสายราชวงศ์ก๊กฉู่ รับราชการถวายคำแนะนำแก่ พระเจ้าฉู่หวายอ๋อง ซีหยวนออกเยี่ยมประชาชนทุกมุมเมือง นำเรื่องราวร้องทุกข์ของราษฎร ทูลกษัตริย์เพื่อทรงแก้ไขปัญหาบ้านเมือง

ซีหยวน เป็นขุนนางที่คนจีนรักเทิดทูนมาก แต่ถูกขุนนางกังฉินอิจฉาริษยาเกลียดชัง จึงรวมกลุ่มกันต่อต้าน ใส่ไคล้ซีหยวนจนพระเจ้าฉู่หวายอ๋องเริ่มมีใจเอนเอียง ในที่สุดฮ่องเต้หูเบาหลงเชื่อ สั่งเนรเทศซีหยวนออกไปอยู่หัวเมืองชายแดน

แม้จะไปอยู่แดนไกล ซีหยวนยังเป็นห่วงราชวงศ์ ทำหนังสือเสนอแนะข้อราชการที่เป็นประโยชน์ให้องค์กษัตริย์ แต่ฮ่องเต้กลับไม่สนใจคำชี้แนะ ซีหยวนเกิดความน้อยใจ เขียนกลอนรำพันชีวิตราชการอันรันทด ถวายบังคมลาพระเจ้าฉู่หวายอ๋อง

วันที่ 5 เดือน 5 ซีหยวนกระโดดแม่น้ำไหม่โหลย มณฑลยูนนาน ฆ่าตัวตาย ชาวบ้านรู้ข่าวช่วยกันค้นหาศพซีหยวนแต่หาไม่พบ จึงนำข้าวปลาอาหารโปรยลงแม่น้ำ เป็นการเซ่นไหว้ดวงวิญญาณ แต่ปลาและสัตว์น้ำแย่งกินหมด

มีชาวบ้านฝันว่า ซีหยวนบอกให้เอาอาหารห่อใบไผ่ มัดด้วยเชือกให้แน่น ใช้เรือหัวมังกรพายออกไปโปรยกลางแม่น้ำ ปลาจะได้กลัวพญามังกร มีอาหารเซ่นไหว้วิญญาณซีหยวน ชาวจีนจึงทำบะจ่างไหว้วิญญาณซีหยวน กำเนิดบะจ่างมากว่า 2,000 ปี


ของไหว้สำหรับเทศกาลไหว้บ๊ะจ่าง
ของไหว้หลัก
- บ๊ะจ่าง : เตรียมบ๊ะจ่างเป็นเลขคู่ เช่น 2 ลูก 4 ลูก 6 ลูก หรือ 8 ลูก

ผลไม้มงคล 5 อย่าง:
ส้ม แอปเปิ้ลแดง สาลี่ แก้วมังกร กล้วยหอม8
- น้ำชา 5 ถ้วย

ของไหว้เพิ่มเติม
- กระดาษเงินกระดาษทองไหว้เจ้า (หงึ่งเตี๋ย)  2 ชุด
- แจกันดอกไม้ 1 คู่
- เทียนแดง 1 คู่
- ธูป 5 ดอก 

หมายเหตุ
- ของไหว้แต่ละบ้านอาจมีความแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับประเพณี
- ของไหว้ควรเป็นของใหม่ สด สะอาด
- ควรจัดโต๊ะไหว้ให้สวยงาม เรียบร้อย

 




 

วันไหว้บะจ่างใช้ธูปกี่ดอก
เทศกาลวันไหว้บะจ่าง ธูปที่ใช้ในการไหว้จะใช้ธูป 3 ดอก หรือ 5 ดอก ซึ่งการไหว้ด้วยธูป 5 ดอกนั้น เพื่อเป็นการเพื่อระลึกถึงครู-อาจารย์ พ่อ แม่ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ตามหลัก 5 ธาตุ (เบญจธาตุ) หรือ โหงวเฮ้ง ของจีน ประกอบด้วย ธาตุดิน ทอง น้ำ ไม้ และ ไฟ ซึ่งมีส่วนเกี่ยวกับวิถีชีวิตโดยตรง

วันไหว้บะจ่าง ไหว้อย่างไร
เทศกาลวันไหว้บะจ่าง คนจีนจะไหว้ในตอนเช้า โดยมีบ๊ะจ่าง, กีจ่าง ซึ่งการไหว้นั้น ไหว้โดยไม่ต้องแกะบ๊ะจ่าง โดยไหว้ที่ตี่จู้เอี๊ยะ หรือศาลเจ้าที่ และบรรพบุรุษ 





วิธีจัดโต๊ะ วันไหว้บะจ่าง ที่ถูกต้อง
การจัดโต๊ะไหว้ วันไหว้บ๊ะจ่าง ส่วนมากจะนิยมจัดไหว้เป็นคู่ บะจ่าง เป็นคู่ 2 ห่อ หรือ 4 ห่อ เพราะเชื่อว่าเป็นเลขสิริมงคล โดยจะจัดเป็นบะจ่างคู่กับกีจ่าง หรือบะจ่างล้วนก็ได้ และ จัดเซ็ตไหว้พร้อมกับผลไม้ น้ำชา ธูป ส่วนช่วงเวลาไหว้จะทำในเวลาเช้า

ตำนานเทศกาลไหว้บะจ่าง
มีความเชื่อว่า เทศกาลไหว้บะจ่าง เกิดขึ้นเพื่อรำลึกถึง ชีหยวน ขุนนางที่กระโดดน้ำเสียชีวิต โดยชีหยวนนั้น เป็นผู้ที่มีความรอบรู้ และความสามารถรอบด้าน รวมถึงรู้จักหลักการบริหารการปกครองเป็นอย่างดี มีความซื่อสัตย์ เรียกได้ว่าเป็นขุนนางที่ตงฉินคนหนึ่ง ถือเอาประโยชน์ของราษฎรเป็นที่ตั้งเสมอ จึงทำให้การทำงานของชีหยวนไปขัดขวางการโกงกิน พวกเขาจึงรวมตัวกันใส่ความชีหยวน จนฮ่องเต้เริ่มมีใจเอนเอียง

ชีหยวนทุกข์ระทมมาก จึงได้แต่งกลอนบทหนึ่งเพื่อคลายความทุกข์ ซึ่งกลอนบทดังกล่าวมีชื่อว่า หลีเซา เป็นกลอนที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการห่วงใยราษฎร ต่อมาฮ่องเต้แคว้นฉู่ถูกกลลวงของแคว้นฉิน และสวรรคต จึงได้มีรัชทายาทขึ้นครองบัลลังก์แทน ซึ่งพระองค์ก็ได้เชื่อคำยุยงของเหล่าขุนนางที่กังฉิน จึงได้สั่งเนรเทศไป



ที่มาของขนมวิถีจีน “บะจ่าง”

ที่จริงแล้ว “บะจ่าง” มีจุดเริ่มต้นมาก่อน “ชวี หยวน” มานานแล้วเช่นกัน แต่เรื่องราวของวีนชนผู้นี้กลับทำให้ “บะจ่าง” เป็นที่รู้จัก โดยมีหลักฐานทางโบราณคดีของจีนชี้ให้เห็นว่า เมื่อ 500,000 ปีก่อน

บรรพบุรุษของชาวจีนกำลังห่ออาหารด้วยใบไม้แล้วย่างบนไฟ และ “บะจ่าง” น่าจะเกิดขึ้นหลังจากชาวจีนเริ่มปลูกข้าว เมื่อประมาณ 8,000 ปีก่อน ซึ่งมักถูกนำไปทำเป็นอาหารในช่วงสงคราม และสำหรับเกษตรกรที่ยุ่งอยู่กับการทำนา จนไม่มีเวลากลับบ้าน

ด้วยเหตุนี้ “บะจ่าง” จึงได้รับการยกย่องว่าเป็น “อาหารกินนอกบ้านแรกของโลก” คล้ายกับแซนด์วิชหรือแฮมเบอร์เกอร์ กระทั่งมีตำนาน “ชวี หยวน” บะจ่างนี้จึงกลายเป็นอาหารในเทศกาลศักดิ์สิทธิ์และได้รับความนิยมมาอย่างยาวนาน


 

ความเชื่อ ชวี หยวน เทพเจ้าแห่งดวงจันทร์

แม้ว่าในความจริง ตำนานของพระจันทร์นั้นมีหลากหลายแนวคิด และหลายตำนานเหล่าขาน เรื่องราวของ ชวี หยวน เองก็เป็นอีกหนึ่งความเชื่อ ว่า ในพบชาติต่อมา เขาได้เกิดเป็นเทพเจ้าแห่งดวงจันทร์ หลังจากจบชีวติในแม่น้ำ  ในวันไหว้บะจ่าง จึงมีพิธีไหว้พระจันทร์ตามมา เพราะดวงจันทร์เป็นสัญญาลักษณ์ ของความงาม ความรัก และความอุดมสมบูรณ์ รวมถึงเป็นแหล่งพลังงานอันยิ่งใหญ่ ดังนั้นการไหวพระจันทร์ ในวันไหว้บะจ่างจะช่วยให้ ชีวิตมีความสุข ร่มเย็น และมั่งคั่งอย่างมั่นคง จนเป็นสิริมงคลให้กับชีวิต





 

การจัดเตรียม ก่อนไหว้พระจันทร์ 

- เตรียมโต๊ะบูชา โดยให้หันหน้าไปทางทิศตะวันออก
- วางเครื่องเซ่นไหว้ เช่น ธูปเทียน ดอกไม้ ผลไม้ ขนม และ น้ำ
- จุดธูปเทียน และ กล่าวคำบูชา
- อธิษฐานขอพร
- เมื่อเสร็จสิ้นแล้ว นำเครื่องเซ่นไหว้ไปแจกจ่ายให้กับผู้อื่น


 

คำอธิษฐานขอพรดวงจันทร์ เสริมสิริมงคล

 

คำอธิฐานขอพรด้านความรัก
"ดวงจันทร์ผู้เปี่ยมเสน่ห์   ข้าพเจ้าขออธิษฐานขอพร   ให้ข้าพเจ้าได้พบเจอกับเนื้อคู่ที่รักแท้   เข้าใจ   และ   อยู่เคียงข้างข้าพเจ้าตลอดไป   ขอให้ความรักของข้าพเจ้า   มั่นคง   ยั่งยืน   และ   เต็มไปด้วยความสุข"
 

คำอธิฐานขอพรด้านการเงิน
"ดวงจันทร์ผู้มั่งคั่ง   ข้าพเจ้าขออธิษฐานขอพร   ให้ข้าพเจ้ามีโชคลาภ   เงินทองไหลมาเทมา   ธุรกิจเจริญรุ่งเรือง   ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน   และ   มีฐานะมั่นคง"

คำอธิฐานขอพรด้านสุขภาพ
"ดวงจันทร์ผู้ทรงพลัง ข้าพเจ้าขออธิษฐานขอพร ให้ข้าพเจ้ามีสุขภาพแข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ   มีพลังกาย   พลังใจ   และ   มีอายุยืนยาว"
 




อธิฐานขอพรด้านความสำเร็จ
"ดวงจันทร์ผู้สว่างไสว   ข้าพเจ้าขออธิษฐานขอพร ให้ข้าพเจ้ามีสติปัญญา ความสามารถ   และ   ความกล้าหาญ ในการดำเนินชีวิต ขอให้ข้าพเจ้าประสบความสำเร็จในทุกๆ ด้าน และ บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้"

 

คำอธิฐานขอพรด้านครอบครัว
"ดวงจันทร์ผู้อบอุ่น ข้าพเจ้าขออธิษฐานขอพร ให้ครอบครัวของข้าพเจ้ามีความสุข รัก สามัคคี ช่วยเหลือ  และ สนับสนุนซึ่งกันและกัน ขอให้ครอบครัวของข้าพเจ้า ปลอดภัย ร่มเย็น และ อยู่ร่วมกันอย่างยาวนาน"
 

คำอธิฐานขอพรด้านการงาน
"ดวงจันทร์ผู้ทรงคุณธรรม ข้าพเจ้าขออธิษฐานขอพร ให้ข้าพเจ้ามีงานทำที่มั่นคง มีรายได้เพียงพอ มีความสุขกับการทำงาน และ บรรลุเป้าหมายในหน้าที่การงาน"
 

คำอธิฐานขอพรด้านการศึกษา
"ดวงจันทร์ผู้เฉลียวฉลาด ข้าพเจ้าขออธิษฐานขอพร ให้ข้าพเจ้ามีสติปัญญา ความจำที่ดี เรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว และ ประสบความสำเร็จในด้านการศึกษา"
 

คำอธิฐานขอพรด้านความปลอดภัย
"ดวงจันทร์ผู้คุ้มครอง ข้าพเจ้าขออธิษฐานขอพร ให้ข้าพเจ้าเดินทางปลอดภัย แคล้วคลาดจากอันตราย และ มีสุขภาพแข็งแรง"
 

คำอธิฐานขอพรด้านความฝัน
"ดวงจันทร์ผู้บันดาลใจ ข้าพเจ้าขออธิษฐานขอพร ให้ข้าพเจ้ามีพลัง ความกล้าหาญ และ ความมุ่งมั่น ในการไล่ตามความฝัน ขอให้ข้าพเจ้าประสบความสำเร็จ และ บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้"

ขอบค%

บทความอื่นๆ ของเรา